masterink

masterink

ผู้เยี่ยมชม

chaichanamoonsang@gmail.com

  ปัญหาพิมพ์ไม่ตรงหน้าจอ ( ระบบสี ) (4800 อ่าน)

15 ธ.ค. 2555 00:07

ปัญหาพิมพ์ไม่ตรงหน้าจอ ( ระบบสี )
เขียนโดย จีแอนด์เอ
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2011 เวลา 11:50 น.
หลายๆคนที่พิมพ์ภาพคงจะพบปัญหการพิมพ์แล้วสีไม่ตรงกับหน้าจอ วันนี้ผมได้นำบทความเพื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว
RGB vs CMYK
เรื่องของสีในการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์นั้น เรามักประสบปัญหาว่าทำไมงานพิมพ์จริงที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทจึงมีสีบางสีในภาพพิมพ์ผิดเพี้ยนไปจากภาพที่เห็นบนจอคอมพิวเตอร์เวลาออกแบบ อีกทั้งเจอะเจอคำว่า RGB และ CMYK นั้นคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และจะเลือกใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสิ่งพิมพ์และการนำไปใช้ในการสื่อสารกับโรงพิมพ์ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน บทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องของสีและปรากฏการณ์ที่เกิดจากการนำไปใช้


แสงสีและหมึกพิมพ์

ภาพที่เรามองเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นภาพที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงของแสงสี 3 สี คือ แสงสีแดง (Red) แสงสีเขียว (Green) และแสงสีน้ำเงิน (Blue) เรียกย่อว่า RGB ซึ่งเป็นแม่สีของแสง แสงสีทั้งสามจะส่องมาที่จอภาพ และเกิดการการผสมของแสงสี ณ จุดแต่ละจุดบนจอตามปริมาณของแสงที่ต่าง ๆ กัน ทำให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ มากมายบนจอ monitor และเมื่อแสงสีทั้งสามมาผสมกันด้วยปริมาณแสงที่เท่ากันจะเกิดเป็นแสงสีขาว จึงเรียกว่า Additive Primary Colors

ส่วนภาพพิมพ์ที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษขาวเป็นภาพที่เกิดจากการที่แสงสีขาวส่องทะลุชั้นของหมึกพิมพ์ 4 สี คือสีเหลือง (Yellow) สีชมพู (Magenta) สีฟ้า (Cyan) และสีดำ (Black) สะท้อนผิวกระดาษขาวแล้วจึงเข้าสู่ตาของเรา สีทั้งสี่เมื่อมีปริมาณของหมึกแต่ละสีต่าง ๆกันในบริเวณเดียวกันจะทำให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ มากมาย สีทั้งสี่ซึ่งเรียกย่อว่า CMYK ถือเป็นแม่สีสำหรับการพิมพ์ ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อนำหมึก 3 สี คือสีเหลือง สีชมพู และสีฟ้ามาทับกัน จะได้เป็นสีดำ จึงเรียกว่า Subtractive Primary Colors แต่ในความเป็นจริงเมื่อนำ 3 สีดังกล่าวมาทับกันจะได้สีเทาน้ำตาล ซึ่งเป็นเพราะความไม่บริสุทธิ์ของสารที่นำมาทำหมึก ดังนั้นในการพิมพ์จึงต้องนำหมึกสีที่ 4 คือสีดำมาช่วย เราจึงเรียกว่าเป็นการพิมพ์ 4 สี

อาณาบริเวณของสี (Gamut)

ในปี ค.ศ. 1928 W.D. Wright และ J. Guild ได้ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดคลื่นแสง ซึ่งต่อมาได้มีการจัดทำผังที่เรียกว่า Color Spectrum Chart ผังดังกล่าวจะแสดงสีทั้งหมดที่ตามนุษย์สามารถรับรู้ได้

เมื่อทำการจัดอาณาบริเวณของสีที่ปรากฏได้ในระบบ RGB (RGB Gamut) มาเทียบกับอาณาบริเวณของสีที่ปรากฏได้ในระบบ CMYK (CMYK Gamut) บน Color Spectrum Chart จะพบว่า มีส่วนที่บริเวณที่เหลื่อมกันอยู่ นั่นคือหากมีการแปลงค่าของสีบางสีที่สามารถแสดงได้ในระบบ RGB แต่อยู่นอกบริเวณของสีในระบบ CMYK จะไม่สามารถได้ค่าของสีเดียวกันในระบบ CMYK ด้วยเหตุดังกล่าว สีบางสีของภาพที่เห็นบนจอ monitor เมื่อถูกนำไปพิมพ์บนกระดาษแล้วจะได้สีที่ผิดเพี้ยนไป
การเลือก color mode ในการใช้งาน

ในการทำงานและออกแบบโดยใช้โปรแกรมกราฟฟิคต่าง ๆ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง RGB color mode หรือ CMYK color mode ก็ได้ แต่ถ้าใช้ RGB color mode เมื่องานเสร็จสิ้นก่อนส่งให้โรงพิมพ์ให้แปลง file งานเป็น CMYK color mode และให้ตรวจดูคุณภาพของภาพและสีสัน ประโยชน์ของการทำงานในระบบ RGB คือ ขนาดของ file งานใน ระบบ RGB มีขนาดเล็กกว่า file งานในระบบ CMYK ด้วยขนาด file ที่เล็กกว่าจะทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้น และอาณาบริเวณของสี ในระบบ RGB กว้างกว่าในระบบ CMYK หากทำงานในระบบ CMYK จะทำให้สูญเสียค่าของสีหากนำไปใช้งานอื่น ๆ เช่นนำไปใช้ใน web site นอกจากนี้ filter หลาย ๆ ชุดทำงานได้เฉพาะในระบบ RGB เท่านั้น หากต้องการตรวจสอบภาพในระบบ CMYK ในระหว่างทำงาน ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง CMYK preview หรือ กด ‘Crtl’ กับ ‘Y’ หรือตรวจจากคำสั่ง ‘Gamut Warning’ สิ่งหนึ่งที่พึงระวังอย่างยิ่ง คือให้หลีกเลี่ยงการแปลงกลับไปมาระหว่าง ระบบ RGB กับ CMYK หลาย ๆ ครั้ง นั่นจะทำให้รายละเอียดของภาพสูญเสียไป สีสันของภาพจะผิดเพี้ยนไป

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.supremeprint.net/ สุพรีมพริ้น จำกัด

223.205.179.225

masterink

masterink

ผู้เยี่ยมชม

chaichanamoonsang@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้